สาระน่ารู้

เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างไร

จึงขออธิบายหลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในบ้านพักอาศัย และอาคารสำนักงานขนาดเล็ก ซึ่งก็คือ ระบบอากาศทั้งหมด (All-air system) แต่ก่อนที่เราจะเรียนรู้กลไกการทำงานของเครื่องปรับอากาศ เราต้องทราบก่อนว่า
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการทำการความเย็น (Refrigeration Cycle) มีอะไรบ้าง

 

Image

ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการทำการความเย็น (Refrigeration Cycle) มีอะไรบ้าง

1) คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำความเย็น หรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น
2) คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น
3) คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น
4) อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสาร ทำความเย็น

โดยทั่วไปจะใช้เป็น แค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ (Capillary tube) หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)
ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ (Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้

1)เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดันและอุณหภูมิ ของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน
2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ ์ลดความดัน
3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่ คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)
4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อนจากภาย ในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้องลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

Image
Image

หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้

1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการทำงานของคอมเพรสเซอร์
2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่านส่วนประกอบ หลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ

Image
Image

วิธีคำนวณขนาดเครื่องปรับอากาศ

ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ มีรายละเอียดที่ควรสนใจ ได้แก่

1. คอมเพรสเซอร์ ให้ตรวจดูว่าเป็นคอมเพรสเซอร์ใหม่ รวมทั้งมีการติดตั้งโอเวอร์โหลด (Overload) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ สำหรับตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าตก หรือสูงกว่าปกติ และแอนตี้รีไซเคิล (Anti-recycle) ซึ่งเป็นอุปกรณ์หน่วงเวลา เพื่อป้องกัน การปิด-เปิด เครื่องติดต่อกันในกรณีที่ไฟกระพริบ หรือไฟตก
2. เปรียบเทียบการใช้ไฟของเครื่องปรับอากาศ
COP : Coefficient of Performance (สมรรถนะของระบบทำความเย็น) ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี
EER : Energy Efficiency Ratio (อัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงาน) ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี
3. ตรวจดูความแข็งแรงทั่วไปของเครื่อง ถ้าตัวถังเป็นเหล็กจะต้องหนา และไม่เป็นรอยขีดข่วนง่าย
4. คอยล์และครีบอลูมิเนียมจะต้องใหม่ไม่มีฝุ่นจับ และครีบอลูมิเนียมควรถี่และตั้งตรง (ครีบไม่ล้ม)
5. มอเตอร์แฟนคอยล์ยูนิต (ชุดที่อยู่ในห้อง) และคอนเดนซิ่งยูนิต (ชุดที่อยู่นอกห้อง) ต้องเป็นของใหม่ โดยสังเกตจากมอเตอร์ใหม่ต้องไม่มีฝุ่นเกาะขดลวดภายใน
6. เลือกเครื่องปรับอากาศที่มีแผ่นแสดง (Name Plate) ที่มาของแหล่งผลิตและคุณสมบัติ ข้อมูลทางเทคนิคที่จำเป็นของเครื่องนั้นๆ เช่น กำลังไฟฟ้า สมรรถนะการทำความเย็นอัตราส่วน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เป็นต้น
7. ฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ เบอร์ 5

 

Image
Image

การตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ

ข้อแนะนำต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่กำลังตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศได้ดีขึ้น

1. ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศจากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่เชื่อถือได้ เพราะแอร์โนเนมส่วนใหญ่จะมีกำลังความเย็น ( BTU ) น้อยกว่าที่แสดงไว้บนฉลากหรือที่ภาษาช่างแอร์เรียกว่า ไม่เต็มบีทียู เครื่องปรับอากาศจากผู้ผลิตโนเนมส่วนใหญ่มีกำลังความเย็นเพียง 70 – 80 % ของที่โฆษณาไว้ นอกจากจะมีกำลังความเย็นไม่เต็มบีทียูแล้ว –แอร์โนเนมยังมีเสียงดังแล้วยังเสียเร็วด้วย

2. ควรเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือเบอร์ 4 และได้มาตรฐานอุตสาหกรรม ( มอก. ) เพราะได้รับการทดสอบความสามารถในการทำความเย็นแล้ว ซึ่งทำให้ท่านแน่ใจได้ว่าจะได้เครื่องปรับอากาศที่ประหยัดไฟฟ้าและมีประสิทธิภาพเต็มบีทียู นอกจากนี้ควรพิจารณาประกอบกับผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือด้วยเนื่องจากว่าอาจมีผู้ผลิตบางราย ปลอมฉลากเบอร์ 5 ด้วย

3 .เลือกใช้เครื่องปรับอากาศของผู้ผลิตที่และผู้แทนจำหน่าย มีบริการหลังการขายที่ดี ข้อนี้เป็นข้อที่มีความสำคัญมากเช่นกันผู้ให้บริการนั้นต้องมีความชำนาญ ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้ เพราะนั่นหมายถึงผู้ที่จะดูแลเครื่องปรับอากาศของคุณ จะได้ไม่ต้องมาหงุดหงิดกับปัญหาจุกจิกกวนใจภายหลัง

Image

ข้อพิจารณาในการใช้งานเครื่องปรับอากาศ

1. ปรับตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ประมาณ 25 องศาเซลเซียส
2. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งเมื่อเลิกใช้ หรือไม่ใช้งานเกินกว่า 1 ชั่วโมง
3. อย่านำสิ่งของไปวางกีดขวางทางลมเข้า/ออกของคอนเดนซิ่งยูนิต
4. หลีกเลี่ยงการนำอุปกรณ์ที่มีความร้อน เช่น เตารีด เตาไฟฟ้า เข้ามาใช้ภายในห้องที่มีการปรับอากาศ
5. ควรปิดประตู หน้าต่างให้สนิท ขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศ
6.ไม่ควรปลูกต้นไม้หรือตากผ้าในห้องที่มีการปรับอากาศ

Image